การศึกษาในประเทศลาว

ลาวเร่งเครื่องในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน

ลาวกำลังเร่งเครื่องอย่างเต็มที่ในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษา กับการเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเน้นหลักสูตรที่มีความเป็นนานาชาติ และเน้นให้นักเรียนลาวเรียนภาษาของเพื่อนบ้านในอาเซียนมากยิ่งขึ้นด้วย

นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในลาว มีโอกาสทำกิจกรรมกับเพื่อนต่างชาติอย่างสมํ่าเสมอโดยเฉพาะกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นและไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับมหาวิทยาลัยกับสถาบันต่างประเทศ การสร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมา เมื่อลาวต้องการเพิ่มระยะเวลาการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 11 ปี เป็น 15 ปี และปรับหลักสูตรให้เข้ากับมาตรฐานของอาเซียนมากยิ่งขึ้น

เรื่องนึงของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นหนึ่งในประชาคมอาเซียนของประเทศลาว นั่นก็คือการปูพื้นฐานให้นักเรียนได้มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและสนใจประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็ได้มีการปรับหลักสูตรการศึกษาให้สอนวิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3

ในขณะที่เด็กนักเรียนเวียดนาม เด็กนักเรียนสิงคโปร์ ต้องเรียนอย่างหนัก ครํ่าเคร่งกับการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ตัวเองใฝ่ฝัน แต่พอมาดูอีกประเทศนึง นั่นก็ก็คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นักเรียนที่นี่ในชั้นสุดท้ายของมัธยมศึกษาตอนปลาย กลับแตกต่างกันไป การศึกษาที่นี่การแข่งขันไม่ได้ดุเดือดมากนักเหมือน 2 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้น และในแง่ของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นว่าไม่ได้เป็นความหวังอันสูงสุดของเด็กที่นั่น

การสอบแข่งขันเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในลาว ไม่ดุเดือดมากนักเพราะเด็กนักเรียนลาวส่วนใหญ่ ไม่นิยมเรียนต่อมหาวิทยาลัย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน สัดส่วนของเด็กลาวอายุระหว่าง 17 – 18 ปี มีเพียงร้อยละ 13.4 เท่านั้น ที่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่ประเทศไทยตัวเลือกนี้สูงถึงร้อยละ 44.7 ครอบครัวชาวลาวที่มีฐานะดี อาจส่งลุกไปเรียนในประเทศไทยหรือเวียดนาม หรือบางครอบครัวที่รายได้ไม่มากนัก เด็กๆก็จะเลือกออกมาหางานทำ หรือเรียนต่อในสายอาชีพที่ใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 3 ปี ดังนั้นจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ 3 แห่ง ในลาว จึงเพียงพอสำหรับการรองรับกับจำนวนนักศึกษาในแต่ละปี

การศึกษาในประเทศลาว

ปัจจุบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของลาว ตั้งแต่ปี 2008 เยาวชนเริ่มสนใจเศรษฐกิจและสังคมลาวมากขึ้น นักศึกษาลาวนิยมเรียนบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์มากยิ่งขึ้น

อาจารย์ท่านหนึ่งในมหาวิทยาลัยของลาว ได้ให้ความเห็นว่า ” ในทัศนะส่วนตัวของข้าพเจ้า คิดว่า นักศึกษาลาวนิยมเข้าเรียนในคณะบริหารหรือเศรษฐศาสตร์ทางธุรกิจ เพราะปัจจุบันประเทศลาว เป็นประเทศที่เปิดตลาดเศรษฐกิจสู่โลก และด้วยนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ฉะนั้นเมื่อมองถึงนโบยายด้านดั่งกล่าวว่าความต้องการของสังคมมีสูงขึ้น จึงเป็นเหตุผลข้อที่หนึ่ง ส่วนเหตุผลข้อที่สอง บุคลากรที่จบด้านบริหารธุรกิจหรือเศรษฐศาสตร์ สามารถไปทำงานให้กับภาครัฐหรือบริษัทต่างๆ หรือไม่ก็สามารถที่จะดำเนินธุรกิจของตัวเองได้อีกด้วย เพราะอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่จบจากคณะดังกล่าว

หันกลับมาดูนโยบายการศึกษาของอาเซียนกันบ้าง แต่ะละประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาแตกต่างกัน รายงานความสามารถการแข่งขันด้านต่างๆ ปี 2554 จาก World Economic Forum ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของแต่ล่ะประเทศในอาเซียน

อันดับ 1 สิงคโปร์ 5.9 คะแนน

อันดับ 2 มาเลเซีย 5.1 คะแนน

อันดับ 3 บรูไน 4.6 คะแนน

อันดับ 4 อินโดนีเซีย 4.2 คะแนน

อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ 3.8 คะแนน

อันดับ 6 กัมพูชา 3.8 คะแนน

อันดับ 7 เวียดนาม 3.7 คะแนน

อันดับ 8 ไทย 3.6 คะแนน

ตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ในลาวได้รับความสนใจจากไทยและญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนและปูพื้นฐานความรู้ทางด้านเทคโนโลยี จึงเป็นยุทศาสตร์หลักที่จะพัฒนาให้ลาวเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิศวกรรมในระดับภูมิภาค การลงทุนของนักธุรกิจไทยที่มีมายังประเทศลาวมีปริมาณที่ค่อนข้างมาก และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเริ่มรุกตลาดเข้ามายังประเทศลาว

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ bovamotors.com

Releated